เวทีวิชาการเกี่ยวกับความขัดแย้งในประเทศพม่า โดย อาจารย์ชยันต์ วรรธนะภูติ

1 มี.ค. 2566


วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคาร 3 (ห้องประชุมเก้าอี้แดง) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เวที “ฟังเสียงจากคนเหนือพรรคการเมืองแถลงนโยบายสวัสดิการเด็กเล็กถ้วนหน้า เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี”

โดย อาจารย์ชยันต์ วรรธนะภูติ ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และประธานมูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเราได้จัดเวทีวิชาการเกี่ยวกับความขัดแย้งในประเทศพม่าซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเกี่ยวข้องและมีผลกระทบต่อประเทศไทย เพื่อให้ตัวแทนของพรรคการเมืองได้รับทราบว่าประเทศไทยควรจะมีนโยบายต่างประเทศอย่างไร จะมีบทบาทในการลดความขัดแย้งอย่างไร หรือช่วยเหลือผู้ที่มีผลกระทบจากวิกฤติในประเทศพม่าที่มาอยู่ตามชายแดนประเทศไทยอย่างไร  โดยมีตัวแทนพรรคการเมืองมาเพียงสี่คน  อย่างไรก็ตามเราจะนำเอาข้อมูลที่ทำไปเสนอต่อคณะกรรมธิการต่อไป ส่วนนี้คือบทบาทของทาง มหาวิทยาลัยและภาคประชาชน  และในช่วงที่เรามีการเลือกตั้งและกำหนดนโยบายเรื่องข้อมูลข่าวสารและเรื่องความรู้เป็นเรื่องสำคัญ


มหาวิทยาลัยไม่ใช่เป็นเรื่องของการโต้วาทีแต่เราให้ข้อมูลกับรัฐ
ในวันนี้ก็เช่นเดียวกันเป็นโอกาสที่ดีที่เครือข่ายขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการเด็กเล็กถ้วนหน้าได้รวมตัวกันและพยายามเคลื่อนไหวพบปะกับผู้คนกลุ่มต่าง ๆ นำปัญหามาประมวลเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะต่อพรรคการเมืองต่างๆ ที่กำลังจะขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการเพื่อเด็ก 

ผมคิดว่าทั้งสองฝ่ายเข้าใจดีว่าสังคมไทยได้ก้าวไปสู่สังคมผู้สูงอายุจึงมีการให้ความสำคัญกับเยาวชนและเด็กเล็กยิ่งมีความสำคัญมาก  เพราะว่าคนเหล่านี้ เด็กเหล่านี้เยาวชนเหล่านี้ก็จะกลายเป็นพลังสำคัญในการสร้างสรรค์สังคมไทยให้มีความยั่งยืนมีสันติภาพ และได้รับโอกาสอย่างถ้วนหน้ากัน ไม่ว่าจะเป็นโอกาสทางด้านการศึกษา โอกาสทางด้านสาธารณะสุข โอกาสทางการเมือง

ประเด็นเรื่องสิทธิเป็นเรื่องที่สำคัญเด็กทุกคนที่เกิดในแผ่นดินไทยไม่ว่าจะมีสัญชาติอะไรน่าจะได้รับการปฏิบัติหรือได้รับสิทธิที่เท่าเทียมกันสิทธิในการได้รับการดูแลทางด้านสุขขภาพอนามัย อาหารที่เท่าเทียมกัน การศึกษา และอื่น ๆที่ผ่านมารัฐบาลมีนโยบายในการที่จะให้การศึกษากับเด็กไม่ว่าจะเป็นเด็กสัญชาติไทยหรือว่าไร้สัญชาติไทยอย่างไรก็ตามในกระบวนดำเนินการก็มีปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ มาก

ประเด็นเรื่องของความถ้วนหน้าที่เราเรียวว่าเป็น inclusive welfare ในทางปฏิบัติจะทำได้อย่างไรยกตัวอย่างอย่างง่ายในกรณีของภาคเหนือนี้ เราจะมองว่าเด็กทุกคนเหมือนกันไม่ได้ต้องแบ่งว่าเป็นเด็กที่มาจากครอบครัวชนชั้นกลางส่วนหนึ่งเด็กที่มาจากกลุ่มคนทำงานในภาคเมืองซึ่งพ่อแม่ไม่ค่อยมีเวลาดูแลเท่าใดอีกส่วนหนึ่งและเด็กที่อยู่ในชนบทและพื้นที่สูง ซึ่งเด็กจำนวนมากเป็นเด็กที่เกิดจากแรงงานซึ่งมาทำงานเพื่อพัฒนาประเทศไทยแต่เขาไม่มีสิทธิเด็กในการเป็นพลเมือง  แต่คนเหล่านี้กลับกลายเป็นคนที่เขาให้โอกาสและสนับสนุนทำให้เศรษฐกิจของเราขับเคลื่อนได้อย่างเต็มที่  แล้วเราจะให้โอกาสกับลูกหลานของแรงงานเหล่านี้ได้อย่างไรและประการสำคัญคือหลายคนยังไม่มีสัญชาติ

























































Calibri;mso-ascii-theme-font:minor-latin;mso-hansi-font-family:Calibri;


mso-hansi-theme-font:minor-latin">ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่สลับซับซ้อน


ซึ่งผมคิดว่าต้องอาศัยคนที่ทำงานในพื้นที่มาชี้แจงให้ฟัง


การจัดเวทีนี้เป็นการจัดเวทีเพื่อให้คนทำงานขับเคลื่อนนบายสวัสดิการเด็กถ้วนหน้าได้มีโอกาสมาเรียนให้ท่านผู้แทนของพรรคการเมือง 


แต่ละพรรคการเมืองมีนโยบายเรื่องพรรคคการเมืองอย่างไรเกี่ยวกับเด็ก 


ผมคิดว่าการทำงานร่วมกันของฝ่ายการเมืองกับฝ่ายภาคประชาสังคมและวิชาการ น่าจะนำไปสู่นโยบายที่ดีในอนาคตได้


เข้าชม 184 ครั้ง