Hello

Let's be friends.
Get latest update for our trusted applications

เครือข่ายบทความทางเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะสังคมศาสตร์

Political Economy
หัวข้อ (THAI) :
การกู้เงินของผู้สูงอายุจากกองทุนผู้สูงอายุเพื่อประกอบอาชีพในจังหวัดพะเยา

หัวข้อ (ENG) :
Loans of the Elderly Person from the Elderly Fund for Occupation in Phayao Province

ผู้แต่ง :
พันธุ์ธิช สีเทา

Issue Date :
19 เมษายน 2566

บทคัดย่อ (THAI) :
การศึกษาเรื่องการกู้เงินของผู้สูงอายุจากกองทุนผู้สูงอายุเพื่อการประกอบอาชีพในจังหวัดพะเยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยในการกู้ยืมเงินกองทุนผู้สูงอายุ 2) ศึกษาความเปลี่ยนแปลงของรายได้ (เพิ่มขึ้น - ลดลง) ของผู้สูงอายุภายหลังการกู้ยืมเงินกองทุนผู้สูงอายุ และ 3) ศึกษาพฤติกรรมการออมของกลุ่มผู้สูงอายุในจังหวัดพะเยาที่กู้ยืมเงินกองทุนผู้สูงอายุ ประชากรที่ใช้ศึกษาเป็นผู้สูงอายุที่กู้ยืมเงินกองทุนผู้สูงอายุในจังหวัดพะเยา จำนวน 1,448 ราย เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 285 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่กู้ยืมเงินจากกองทุนผู้สูงอายุในจังหวัดพะเยา ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย อยู่ในช่วงอายุ 60 – 69 ปี สถานภาพสมรส อาศัยอยู่กับคู่สมรสเป็นส่วนใหญ่ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย และเกษตรกรรม มีเหตุผลในการกู้ยืมคือนำไปเป็นทุนในการประกอบอาชีพ มีบางส่วนที่ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการกู้ยืมเงินนั้น ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ความต้องการเงินทุน การอยู่อาศัย และนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมการประกอบอาชีพให้กับผู้สูงอายุโดยการปล่อยเงินกู้ผ่านกองทุนผู้สูงอายุ สำหรับความเปลี่ยนแปลงรายได้ของผู้สูงอายุ พบว่า ก่อนการกู้ยืมเงินจากกองทุนผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างมีรายได้เฉลี่ย 19,330 บาทต่อเดือน แต่ภายหลังจากการกู้ยืมเงินกองทุนผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างมีรายได้เฉลี่ย 18,975 บาทต่อเดือน ซึ่งลดลงจากก่อนกู้ยืมเงินกองทุนผู้สูงอายุร้อยละ 1.84 และและในส่วนของพฤติกรรมการออมของกลุ่มผู้สูงอายุในจังหวัดพะเยาที่กู้ยืมเงินกองทุนผู้สูงอายุ พบว่า ก่อนการกู้ยืมเงิน กลุ่มตัวอย่างมีเงินเหลือสำหรับการออมจำนวน 122 คน คิดเป็นร้อยละ 42.81 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ปริมาณการออมอยู่ในช่วง 901 – 1,500 บาทต่อเดือน มีเงินเหลือออมเฉลี่ย 2,022 บาทต่อเดือน และภายหลังการกู้ยืมเงิน กลุ่มตัวอย่างมีเงินเหลือสำหรับการออมจำนวน 102 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 37.79 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ซึ่งลดลงร้อยละ 16.39 และมีจำนวนเงินเหลือสำหรับการออมภายหลังจากการกู้ยืมเงินกองทุนผู้สูงอายุ อยู่ในช่วงต่ำกว่าหรือเท่ากับ 900 บาทต่อเดือน มีปริมาณเงินเหลือออมเฉลี่ย 1,410 บาทต่อเดือน ซึ่งลดลงจากเงินออมก่อนการกู้ยืมเงิน ร้อยละ 7.30 ภาครัฐควรมีการส่งเสริมการประกอบอาชีพโดยควบคู่ไปกับการให้ความรู้ด้านการประกอบอาชีพและการลงทุนให้กับผู้สูงอายุอย่างจริงจัง รวมไปถึงการกำหนดตัวชี้วัดของการกู้ยืมเงินจากกองทุนผู้สูงอายุโดยให้ความสำคัญกับการลดจำนวนผู้กู้ มากกว่าการเพิ่มจำนวนผู้กู้ และสำหรับผู้ที่จะศึกษาในด้านนี้ควรศึกษาในส่วนของปัญหาหนี้ค้างชำระ และการลงทุนการประกอบอาชีพของผู้สูงอายุที่ชำระหนี้ครบแล้ว
คำสำคัญ : ผู้สูงอายุ, กองทุนผู้สูงอายุ, เงินกู้, รายได้, การออม

Abstract :
The study aims to explore the elderly’s loans from the elderly fund for occupations in Phayao Province with three main objectives including 1) examining the factors underlying
the loans of the elderly 2) investigating the change in the elderly’s income after the loan approval and 3) scrutinizing the saving behavior of the elderly who live in Phayao Province and have been granted the loan. The research examined 285 samples out of the 1,448 population by employing questionnaire as a means of collecting data for further arithmetic analysis.
The findings showed that the loanees were mostly married men aged between 60 to 69 years old. Most of whom lived with spouses and earned their livelihood from trading and farming. The causes of the loan involved career development and daily spendings. The factors affecting the elderly’s loans in Phayao Province consisted of age, educational level, the need for capital, living condition, and the government’s policy to support the elderly’s occupations through the elderly fund. In terms of income change, most of the samples had an income prior to the loan on average 19,330 baht per month. After the loan being approved, nevertheless, their average income decreased by 1.84 percent to 18,975 baht a month. As for saving behavior, 42.81 percent of the samples had money left for savings prior to the loan, which were equal to 122 out of 285 people. They had 2,022 baht on average left per month to be kept, but the actual amount of money saved varied from 901 – 1,500 baht a month. After the loan, however, the number of samples having money left for savings shrank by 16.39 percent to 37.79 percent or 102 samples. Correspondingly, the amount of money left for savings dropped to 1,410 baht on average with the actual savings being less than or equal to 900 baht, contracting by 7.30 percent. Therefore, while supporting the elderly’s occupations, the government should educate them about how to improve their professional skills as well as how to invest in career development. The fund’s key performance indicator, moreover, should reduce the number of loanees as opposed to increasing it. Further study, in addition, should focus on outstanding debts and how the elderly, who have already cleared themselves of debts, invest in career development.
Keywords : Elderly, Elderly Fund, Laon, Income, Savings

บทความ :