Hello

Let's be friends.
Get latest update for our trusted applications

เครือข่ายบทความทางเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะสังคมศาสตร์

Political Economy
หัวข้อ (THAI) :
การตัดสินใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัย ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจถดถอยในจังหวัดเชียงใหม่

หัวข้อ (ENG) :
Decision Making for Buying Housing Estate Under the Economic Recession in Chiang Mai Province

ผู้แต่ง :
เวธกา พีรพุฒิโชค

Issue Date :
2 กุมภาพันธ์ 2566

บทคัดย่อ (THAI) :
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของผลการค้นคว้าอิสระในหลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเมือง เรื่อง การตัดสินใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัย ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจถดถอยในจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก ปัจจัยส่วนประสมการตลาด และการตัดสินใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภค ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจถดถอยในจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 ราย ซึ่งตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยในช่วงสภาวะเศรษฐกิจถดถอย ระหว่างปี 2562-2564 ที่ผ่านมา จากข้อมูลการสำรวจที่ได้เก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาที่สำคัญพบว่า ด้านสภาพแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัย ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจถดถอยในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ภาพรวมระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการเมืองและกฎหมาย อยู่ในระดับมาก รองลงมา ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ยกเว้น ด้านเทคโนโลยี ภาพรวมระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ
คำสำคัญ : การตัดสินใจเลือกซื้อ ที่อยู่อาศัย ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจถดถอย

Abstract :
This paper is a part of the findings of the Master of Political Economy Program’s independent study entitled “Decision Making for Buying Housing Estate Under the Economic Recession in Chiang Mai Province”. The study was conducted with the aim to investigate external environment factors, marketing mix factors, and decision-making on house purchasing among consumers under the economic recession conditions in Chiang Mai province. In this study, the samples were 400 consumers who resided in Chiang Mai and decided to purchase a house under the economic recession conditions between the years 2019 and 2022. According to the survey data and the analysis derived from the descriptive statistics i.e. frequency, percentage, mean, and standard deviation, the core results suggested that the external factors, of which the overall ratings were ranked at high level, included the politic and the law factors; followed by the economic and the socio-cultural factors, respectively. The overall ratings for the technology factor, however, were ranked at moderate level.
Keyword: Purchase Decision, Housing, Economic Recession Conditions

บทความ :