Hello

Let's be friends.
Get latest update for our trusted applications

เครือข่ายบทความทางเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะสังคมศาสตร์

Political Economy
หัวข้อ (THAI) :
มาตรการเยียวยากลุ่มผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน

หัวข้อ (ENG) :
Remedial Measures for the Insured Under Section 33 in the COVID-19 Epidemic Situation in Mueang Lamphun District, Lamphun Province

ผู้แต่ง :
ภัทรจาริณ จินดารัตน์

Issue Date :
29 มีนาคม 2567

บทคัดย่อ (THAI) :
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษามาตรการของรัฐบาลในการเยียวยาผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2) เพื่อศึกษาปัญหาของมาตรการเยียวยาผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่มีต่อมาตรการเยียวยาของภาครัฐในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผลการศึกษาพบว่า 1) มาตรการในการเยียวยาผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ด้านบริบท พบว่า ผู้ประกันตนสามารถศึกษาขั้นตอนการลงทะเบียนได้ด้วยตนเอง และรู้วัตถุประสงค์ของมาตรการว่าต้องการช่วยเหลือผู้ประกันตนมาตรา 33 เพียงแต่ไม่ได้ทำความเข้าใจกับรายละเอียดในส่วนอื่น ๆ ของมาตรการ ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต รวมทั้งสัญญาณอินเทอร์เน็ตในพื้นที่อยู่อาศัยมีความพร้อมเพื่อใช้สำหรับลงทะเบียน แต่ไม่ได้เตรียมหลักฐานอื่น ๆ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน เป็นต้น ด้านกระบวนการ พบว่า การโอนเงินช่วยเหลือเข้าบัญชีตรงตามวันที่กำหนด การตรวจสอบข้อมูลมีความรวดเร็ว แต่การประชาสัมพันธ์ข่าวสารของภาครัฐยังขาดความต่อเนื่อง และด้านผลผลิต พบว่า คุณสมบัติของผู้ที่ได้รับเงินช่วยเหลือมีความเหมาะสม เงินที่ได้รับสามารถแบ่งเบาค่าใช้จ่ายได้ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ไม่ได้ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้ 2) ปัญหาจากมาตรการเยียวยาที่เกิดขึ้นในอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน พบว่า จากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 400 คน มีผู้ประกันตนมาตรา 33 จำนวน 195 คน ไม่ได้รับเงินช่วยเหลือจากมาตรการดังกล่าว เนื่องจาก ไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการ ลงทะเบียนไม่ทันตามเวลาที่กำหนด และคุณสมบัติบางประการไม่ผ่านเกณฑ์ตามเงื่อนไขของมาตรการ 3) ข้อเสนอแนะต่อมาตรการเยียวยา พบว่า (1) กรณีของ ผู้ที่ได้รับเงินช่วยเหลือ ต้องการให้ภาครัฐจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอกับจำนวนผู้ประกันตนมาตรา 33 ทั้งประเทศ รวมทั้งควรมีมาตรการสำรองนอกเหนือจากการแจกเงิน เพื่อช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องในระยะยาว (2) กรณีผู้ที่ไม่ได้รับเงินช่วยเหลือที่มีสัญชาติไทย ต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือผู้ประกันตนมาตรา 33 ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เนื่องจากผู้ประกันตนทุกคนต่างก็จ่ายเงินสมทบทุกเดือนตามข้อกำหนดของสำนักงานประกันสังคม ดังนั้นผู้ประกันตนมาตรา 33 ทุกคนจึงมีสิทธิที่จะได้รับเงินช่วยเหลือจากภาครัฐ และ (3) กรณีผู้ที่ไม่ได้รับเงินช่วยเหลือที่ไม่มีสัญชาติไทย ต้องการให้ภาครัฐลดค่าธรรมเนียมการต่ออายุบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย และต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือเฉกเช่นเดียวกับผู้ประกันตนมาตรา 33 ชาวไทย เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์วิกฤติดังกล่าวเช่นเดียวกัน ดังนั้นควรได้รับการช่วยเหลือบ้างไม่มากก็น้อย แต่ในความเป็นจริงกลับไม่เคยได้รับเงินและไม่ได้รับการช่วยเหลือใด ๆ จากภาครัฐเลย
คำสำคัญ : มาตรการเยียวยา, ผู้ประกันตนตามมาตรา 33, การล็อคดาวน์, การแพร่ระบาด, โควิด-19

Abstract :
The purposes of this research were to 1) study the government’s measures for assisting the insured individuals under Section 33, who were affected by the impact of the coronavirus 2019 pandemic, 2) study the issues related to the measures for assisting the insured individuals under Section 33 in the area of Mueang District, Lamphun Province, and 3) study the suggestions and feedback from the insured individuals under Section 33 regarding the government’s measures in the situation of the coronavirus 19 pandemic. The study found that 1) in terms of the measures for assisting the insured individuals under Section 33, regarding the contextual aspect, it found that the insured individuals learned the registration process self-sufficiently and knew the objectives of the measures; however, there was a lack of understanding of the details of other aspects of the measures. Regarding the input factors, it found that mobile phones and tablets, including internet connection in residential areas, were available for registration, still other supporting documents such as identification cards were not prepared. Regarding the procedures, the study found that the funds were transferred to designated accounts of the insured individuals punctually, and the data verification process was effective. However, the public relations procedure of the government lacked continuity. Regarding the outcomes, the study revealed that the eligibility criteria of the selection to receive the financial assistance were appropriate; nonetheless, the received funds only provided temporary relief of expenses and did not contribute to improving the quality of life. 2) In terms of problems arising from the measures for assisting the insured individuals under Section 33 in Mueang District, Lamphun Province, the result found that 195 participants out of 400 participants who were insured under Section 33 did not receive the financial assistance from the measures because they did not know about the details of the measures, causing them to miss the specified deadline of the registration. Additionally, the qualifications of some individuals did not meet the criteria outlined in the measures, leading to their disqualification. 3) In terms of the suggestions and feedback regarding the government’s measures, the study found that: (1) in the case of the insured individuals who received the financial assistance suggested that the government should have allocated a budget sufficient to cover all insured individuals under Section 33 nationwide. Additionally, there should be backup measures other than fund distribution to provide continuous long-term assistance. (2) in the case of the insured individuals who did not receive the financial assistance and hold Thai nationals, they proposed that the government should have provided equal assistance to all insured individuals under Section 33 because every insured individual paid the contributions every month according to the Social Security Office’s regulations; therefore, they expected an equal treatment in receiving support from the government. Finally, (3) in the case of the insured individuals who did not receive the financial assistance and did not hold Thai nationality, they would like the government to reduce the fee for renewing the non-Thai identification card, and provide equal assistance like providing to Thai-insured individuals under Section 33 since they were similarly affected by the pandemic; hence, they proposed that they should have received assistance, but the government did not provide them with any funding or assistance.
Keywords: Assistance Measures, Insured Individuals under Section 33, Lockdown, Pandemic, and Covid-19

บทความ :