เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.วสันต์ ปัญญาแก้ว นำนักศึกษาจากโครงการอบรมระยะสั้น “Sociology and Anthropology of Northern Thailand and Upper Mekong – Spring Semester 2022” (USAC programs) กลุ่ม “Highland Ethnic Peoples” ภายใต้ CMU School of Lifelong Education เยี่ยมชมและศึกษาเรียนรู้ “ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สาใหม่” และ “บ้านม้งแม่สาใหม่” ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
.
“ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สาใหม่” ได้ก่อตั้งขึ้นราวปี พ.ศ.2517 และได้นำเข้าพืชผลเมืองหนาว โดยเฉพาะ ลิ้นจี่ ให้ชาติพันธุ์ชาวม้งปลูกแทนฝิ่น โดยในช่วงแรก ๆ ชาวบ้านยังไม่มั่นใจในผลผลิตและรายได้ทางเศรษฐกิจ จนกระทั่ง ลิ้นจี่ กลายมาเป็นพืชเศรษฐกิจหลักในพื้นที่ ชาวบ้านจึงเริ่มปลูกลิ้นจี่แทนฝิ่นมากขึ้น และราว พ.ศ.2525 ก็เลิกปลูกฝิ่นกันถาวร พร้อมกันนี้ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สาใหม่ ได้นำเข้าพืชผลเมืองหนาวชนิดอื่น ๆ เข้ามาทดลองและปรับแต่งพันธุ์เพื่อให้เจริญเติมโตและสามารถสร้างผลผลิตทางเกษตรได้ในพื้นที่ ก่อนที่จะนำไปเผยแพร่และส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูก พร้อมทั้งรับซื้อผลผลิตจากชาวบ้านตามพันธะสัญญา ตัวอย่างพืชผลที่สำคัญ เช่น มันฝรั่ง สตรอว์เบอร์รี อโวคาโด และล่าสุดพริกเม็กซิกัน ปัจจุบัน ชาวม้งบ้านแม่สาใหม่ (ไม่รวมแม่สาน้อย) มีอยู่ราว 400 กว่าครัวเรือน ประชากรราว ๆ 2000 กว่าคน ส่วนมากมีรายได้จาก “สวนเกษตร” หรือในชาวบ้านที่มีทำกิจไม่มาก จะทำอาชีพโดย “การปลูกพืชหมุนเวียน” โดยช่วงราว พ.ศ.2550 ธุรกิจโฮมสเตย์ และการท่องเที่ยวเชิงเกษตร หรือ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism) กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอแม่ริม เป็นวงกว้าง และชาวบ้านในพื้นที่บ้านแม่สาใหม่ก็เริ่มหันมาทำธุรกิจโฮมสเตย์มากขึ้น ควบคู่ไปกับการทำการเกษตรเดิม
รูปเพิ่มเติม